Finnway International School Phuket, in collaboration with the Baan Ar Jor Foundation and the Baan Lipon Tai Learning Center, participated in The World’s Great Celebration 2025, hosted by Central Patana at Central Phuket Floresta on November 23–24, 2024. This event marked the first step in fostering greater cooperation among community partners, aligning with Finnway’s mission to build a strong Phuket community rooted in the principles of the school’s “Finnway Identity,” inspired by Finland’s globally renowned education system.
Finland’s education system is celebrated worldwide for its excellence, as evidenced by its high rankings in the Programme for International Student Assessment (PISA). The 2012 PISA study ranked Finland sixth in reading, twelfth in mathematics, and fifth in science. Additionally, the World Economic Forum ranked Finland’s tertiary education system first globally.
Finnway International School Phuket is proud to be the first school in Phuket to adopt the Finnish curriculum. Speaking about the school’s mission, Ms. Saowarot Kerdsup, Deputy Director, shared:
“What makes the Finnish curriculum unique is its practicality—it bridges aspirations with actionable goals. At Finnway, we focus on preparing our children to reach their full potential, equipping them with the skills and confidence they need to face the future.”
Ms. Saowarot emphasized the importance of collaboration in a connected world:
“Nobody can achieve this alone. In today’s interconnected world, we aim to create a ‘butterfly effect’ that benefits all of Phuket. We deeply value our partnerships with the Baan Ar Jor Foundation and the Baan Lipon Tai Learning Center, as their philosophies and missions align with our vision.”
About the Baan Ar Jor Foundation
The Baan Ar Jor Foundation was established following a remarkable event: Mr. Narong Hongyok, affectionately known as Grandpa Narong and a second-generation member of the family, was miraculously cured of stage 4 lung cancer. Today, the foundation supports over 100 underprivileged children from the Mai Khao community.
Visitors to the Baan Ar Jor Museum, a stunning three-story mansion filled with historical artifacts, original furniture, and items reflecting its Chinese heritage, can see firsthand the community’s dedication to preserving its cultural legacy. Proceeds from the museum’s unique gifts and souvenirs contribute to the foundation’s community development efforts.
About Baan Lipon Tai Learning Center
The Lipon Tai community has a rich history dating back to the Burmese invasion of Thalang (the former name of Phuket) in 1785. During the war, locals found refuge in Lipon Tai, and its name evolved from “Baan Leek Pon” (meaning a hiding place) to its modern form.
The Baan Lipon Tai Sufficiency Learning Center was established by local women’s groups, led by Srisoonthorn Mayor Mr. Chalermpol Kerdsup, with support from the Phuket Provincial Community Development Office and other government agencies. The center encourages sustainable practices such as home farming to enhance food security and promote a self-sufficient economy. It is now a part of OTOP INNO-LIFE, a tourism initiative that connects visitors with the community’s cultural and economic activities, fostering local well-being and sustainable tourism.
The Role of Education in Community Development
Reflecting on the broader impact of education, Ms. Saowarot Kerdsup concluded:
“Education is the cornerstone of human development, a catalyst for progress, and the key to unlocking the full potential of individuals and societies. It is more vital than ever, helping us make informed decisions for a secure future. Collaboration—both nationally and internationally—will play an essential role in advancing education. By emphasizing the connection between learning and community engagement, we can inspire excellence in our students and create a brighter future for all.”
Through partnerships with organizations like the Baan Ar Jor Foundation and Baan Lipon Tai Learning Center, Finnway International School Phuket continues to foster meaningful community connections, laying the groundwork for a future built on shared knowledge, collaboration, and sustainable progress.
โรงเรียนนานาชาติฟินเวย์ภูเก็ตจับมือพันธมิตรเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในระดับชุมชน
โรงเรียนนานาชาติฟินเวย์ภูเก็ตร่วมกับมูลนิธิบ้านอาจ้อและศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านลิพอนใต้ ร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสภายใต้งานชื่อว่า The World’s Great Celebration 2025 ซึ่งจัดโดยเซ็นทรัลพัฒนาที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ภูเก็ต ฟลอเรสต้า ระหว่างวันที่ 23-24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ความร่วมมือนี้นับเป็นครั้งแรกของการผนึกกำลังเพื่อร่วมกันพัฒนาเสริมสร้างจังหวัดภูเก็ต ตามแนวคิดหลักของ “แนวทางการสอนแบบฟินเวย์” บนพื้นฐานของหลักสูตรการศึกษาแบบฟินแลนด์
การศึกษาตามแนวทางของประเทศฟินแลนด์เริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับความสนใจในวงกว้างมากขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ว่าเป็นหนึ่งในแนวทางการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก ซึ่งเห็นได้จากการศึกษาของปิซา (PISA study) ซึ่งเปรียบเทียบหลักสูตรการศึกษาในประเทศต่างๆ ทั่วโลก และจากการศึกษาในปี พ.ศ. 2555 ประเทศฟินแลนด์ขึ้นแท่นอันดับ 6 ทางด้านการอ่าน อันดับที่ 12 ทางด้านคณิตศาสตร์ และอันดับที่ 5 ทางด้านวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ สภาเศรษฐกิจโลก ยังจัดอันดับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศฟินแลนด์ว่าดีที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง
โรงเรียนนานาชาติฟินเวย์ภูเก็ต เป็นโรงเรียนแห่งแรกในจังหวัดภูเก็ตที่ใช้หลักสูตรการเรียนการสอนจากประเทศฟินแลนด์
นางเสาวรส เกิดทรัพย์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนนานาชาติฟินเวย์ภูเก็ต ร่วมแสดงวิสัยทัศน์และความคิดเห็นเกี่ยวกับพันธกิจของโรงเรียนว่า “ถ้าจะว่าไปแล้ว หลักสูตรการศึกษาตามแนวทางของประเทศฟินแลนด์มีความโดดเด่นตรงที่เป็นสิ่งที่สามารถจับต้องได้ และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ที่โรงเรียนของเรา เราเน้นเรื่องการเตรียมความพร้อมและพัฒนาทักษะชีวิตในด้านต่างๆให้กับเด็กนักเรียน เพื่อให้พวกเขาสามารถเผชิญโลกอนาคตได้อย่างมั่นใจ”
นางเสาวรส ยังกล่าวต่อไปว่า “เราไม่สามารถทำภารกิจอันยิ่งใหญ่นี้ได้เพียงลำพัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทุกภาคส่วนในโลกมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน เรามุ่งหวังสร้างพลังแห่งความเปลี่ยนแปลงที่จะเป็นประโยชน์กับจังหวัดภูเก็ตของเราในภาพรวม ทั้งนี้ มูลนิธิบ้านอาจ้อและศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านลิพอนใต้ต่างก็มีจุดร่วมและแนวทางในการขับ เคลื่อนเช่นเดียวกันกับทิศทางของโรงเรียน
มูลนิธิบ้านอาจ้อได้รับแรงบันดาลใจในการจัดตั้งจาก นายณรงค์ หงษ์หยก หรือคุณปู่ณรงค์ ทายาทรุ่นที่ 2 ของตระกูล ที่หายจากจากโรงมะเร็งปอดระยะสุดท้ายอย่างอัศจรรย์ ปัจจุบันทางมูลนิธิฯ ให้การสนับสนุนเด็กๆที่ขาดโอกาสทางสังคมมากกว่าหนึ่งร้อยชีวิตจากชุมชนบ้านไม้ขาว ถ้าหากท่านไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์บ้านอาจ้อ ท่านจะได้พบกับผลิตภัณฑ์และของที่ระลึกที่สวยงามซึ่งผลิตจากชุมชนดังกล่าว นอกจากนี้ พิพิธภัณฑ์บ้านอาจ้อยังจะนำท่านกลับเข้าสู่บรรยากาศของศตวรรษที่ 19 พร้อมกลิ่นไอของความรุ่งเรืองและยิ่งใหญ่ในอดีตผ่านทางเครื่องประดับตกแต่ง และสิ่งของที่ท้าทายกาลเวลาจากในอดีตในสมัยที่ธุรกิจการทำเหมืองแร่ยังรุ่งเรือง
บ้านลิพอนใต้ เป็นชื่อของชุมชนที่มีวัฒนธรรมโดดเด่นเฉพาะตัวและประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งสามารถย้อนหลังไปได้ไกลถึงปี พ.ศ. 2328 เมื่อครั้งกองทัพพม่าเข้ารุกรานเมืองถลาง (ชื่อดั้งเดิมของจังหวัดภูเก็ต) สงครามครั้งนั้นก่อกำเนิดวีรสตรีสองท่าน คือ ย่าจัน และย่ามุก ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านลิพอนใต้ ได้รับการก่อตั้งจากการร่วมกลุ่มของแม่บ้านภายในชุมชน ภายใต้การนำและวิสัยทัศน์ของ นาย เฉลิมพล เกิดทรัพย์ อดีตผู้ใหญ่บ้าน และดำรงตำแหน่ง นายกเทศมนตรีตำบลศรีสุนทรในปัจจุบัน โดยทางศูนย์ฯได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดภูเก็ตและจากภาครัฐ ซึ่งมุ่งเน้นให้ชาวบ้านในชุมชนนำแนวทางและความคิดตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ และสร้างผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีความโดดเด่น อีกทั้งยังเป็นแหล่งให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะในการประกอบวิชาชีพ และการท่องเที่ยวตามวิถีประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมอีกด้วย
นางเสาวรส รองผู้อำนวยการฯ ปิดท้ายบทสัมภาษณ์เกี่ยวกับความสำคัญของแนวทางการศึกษาในอนาคตว่า “การศึกษาถือเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนามนุษย์ อีกทั้งยังเป็นตัวขับเคลื่อนความเจริญก้าวหน้า และเป็นแหล่งที่ช่วยเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในแต่ละบุคคลและสังคมโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคนี้ ที่การศึกษาไม่ได้เป็นแค่เพียงทำหน้าที่ดังกล่าวแต่ความสำคัญของการศึกษากลับมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะมันจะช่วยเตรียมความพร้อมให้กับอนาคตได้ดียิ่งขึ้นท่ามกลางสถานการณ์โลกที่มีความผันพวนอย่างมาก ซึ่งเราไม่สามารถทำได้เพียงลำพัง แต่ต้องประสานความร่วมมือ จากพันธมิตรที่มีแนวคิดและความเชื่อในทำนองเดียวกัน ผ่านการแลกเปลี่ยนความเชียวชาญซึ่งกันและกัน ซึ่งนั่นเป็นแนวทางหนึ่งของโรงเรียนที่จะประสานและทำความร่วมมือให้มากขึ้นกับองค์กรและผู้เชียวชาญในด้านต่างๆทั้งภายในประเทศและในเวทีนานาชาติ”